วงจรการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม

งจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle: PDLC)
วงจรการพัฒนาโปรแกรม (PDLC) คือ ขั้นตอนการทำงานที่โปรแกรมเมอร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.การวิเคราะห์ปัญหา (Program Analysis)
2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
4. การทดสอบโปรแกรม (Program Testing)
5.การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
เป็นขั้นตอนแรกของวงจรการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและค้นหาสิ่งที่ต้องการ เพื่อพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
เป็นขั้นตอนที่ 2 ของวงจรการพัฒนาโปรแกรมซึ่งการออกแบบโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบ เช่น ผังงาน (Flowchart) รหัสจำลอง (Pseudo code) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ดียิ่งขึ้น
3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากที่ได้มีการออกแบบโปรแกรมแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C ,ภาษา Pascal เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละภาษาจะมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันออกไป
4. การทดสอบโปรแกรม (Program Testing)
เป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งการเกิด Error ของโปรแกรมมักมีมาจาก 2 สาเหตุเท่านั้น คือ
1. Syntax Error คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนโค้ดคำสั่ง (Source Code) ที่ไม่ตรงกับ…ไวยากรณ์ (Syntax) ของภาษาโปรแกรมมิ่งนั้นๆ
2. Logic Error เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการออกแบบอัลกอริทึมให้ทำงานผิดวัตถุประสงค์
ข้อผิดพลาดของโปรแกรม เรียกว่า “Bug”
ส่วนการแก้ไขข้อผิดพลาด เรียกว่า “Degug”
โปรแกรมที่ทำงานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ เรียกว่ามี “Error”
5. การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

อ้างอิง : https://pampamguzazaza.wordpress.com/category/บทที่7-การพัฒนาโปรแกรม/ategory/

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม